วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Polio Act II


โปลิโอ ฉากที่สอง

ผู้รอดชีวิตจากโรคร้ายนี้เมื่อทศวรรษที่แล้วกำลังทุกข์ทรมานกับอาการของความพิการ


เขียนโดย เคท โนแลน


แปลโดย สุรกิจ เกิดสงกรานต์




อินนา พิงค์นีมีชีวิตที่ดีมากแม้จะเคยเป็นโปลิโอมาก่อน เธอทำอาหารจากเตาอบที่ชนะเลิศการประกวดระดับชาติ และมีผู้ชื่นชมในรสชาติอาหารเข้าคิวรอคอยที่จะทานอาหารในร้านอินนา ที่นับว่าเป็นร้านดาวเด่นในชิคาโกที่ ๆ เธอได้รับฉายาว่า “ราชินีแห่งอาหารเช้า”




เมื่อแรกตรวจพบว่าได้รับเชื้อโปลิโอตอนอายุ 18 เดือนในปี พ.. 2487 อินนาเข้ารับการรักษาจากซิสเตอร์อสิลซาเบธ เคนนี่ ชาวออสเตรเลียที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะในการรักษาโรคโปลิโอโดยการใช้ไหมพรมขนสัตว์ต้มแล้วพันรอบมือเท้าของผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโรคโปลิโอ จากนั้นก็นวดกล้ามเนื้อบริเวณนั้นเพื่อหยุดการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ถูกเชื้อโรคโปลิโอเล่นงาน หนึ่งเดือนหลังจากเข้าร่วมตามแผนบำบัดรักษา พิงค์นีเดินได้อีกครั้งหนึ่ง แต่เชื้อโรคได้ทำลายกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ มากมายเกินกว่าจะฟื้นตัวเหมือนเดิมได้ เธอใช้เวลาหลายปีในการฝึกใช้กล้ามเนื้อที่เหลืออยู่แต่ขาข้างขวาก็ไม่สามารถทำงานได้ดีเท่าข้างซ้ายอีกเลย




พิงค์นีจำได้ว่าเธอเคยไปร่วมงานกาลาที่นครนิวยอร์คที่มีเคาท์แบสซี่เล่นดนตรรี ดาราภาพยนตร์ในดวงใจของเธอ เฟรด แอสแทร์ไปที่งานนี้ด้วย เธอเดินไปหาเขา และเขาพูดว่า “ผมสังเกตเห็นคุณเดินด้วยความลำบาก เราลองแกล้งทำเป็นไม่ลำบากดูนะครับ”




เขานำฉันไปสู่ฟลอร์เต้นรำ และเราเต้นพลางเหวียงตัวสลับกันถึง 12 ครั้ง เหวี่ยงถึง 12 ครั้งกับเฟรด แอสแทร์ ช่างเป็นห้วงเวลาที่ยอดเยี่ยมจริง ๆ “ เธอรำลึกถึงวันเก่า ๆ




ปัจจุบันพิงค์นีมักมีอาการอ่อนล้าหมดความรู้สึก และขาของเธอก็ไม่มีแรง แม้จะมีการบริหารกล้ามเนื้อเพื่อให้แข็งแรงอยู่เสมอ เธอฝืนใจยอมใส่เฝือกอ่อนพยุงข้อเท้าจากสำนักงานแพทย์กลับบ้าน ระหว่างทางบนถนน พิงค์นีซึ่งอายุ 67 ปีแล้วคิดถึงเหตุการณ์วันนี้เหมือนดั่ง “ลมหวน”




มันเป็นสิ่งเตือนให้รู้ว่าเรามีงานต้องทำหลายอย่าง” เธอกล่าว “ฉันต้องหัดเดินกับอุปกรณ์ช่วยเดินอีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้นฉันต้องยอมรับว่าต่อจากนี้ไปมันจะเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในร่างกายของฉัน” โรคโปลิโอไม่ได้กลับมาทำร้ายเธออีก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับเธอคือ อาการต่อเนื่องของคนที่เคยเป็นโรคโปลิโอ เป็นของแถมสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคนี้แล้วรอดชีวิต แต่มันจะเกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้นอีกอย่างน้อย 15 ปี ประมาณกันว่ามีชาวอเมริกันที่เคยป่วยด้วยโรคโอลิโอ 55 เปอร์เซนต์จาก 775,000 รายมีความเสี่ยงที่จะมีอาการดังว่านี้




เราน่าจะได้รับการสนับสนุนในโครงการกวาดล้างโรคโปลิโอหากผู้คนเข้าใจถึงผลกระทบในระยะยาวของโรคนี้” ผวภ. แอนน์ลี ฮัสซี ประธานกลุ่มโรแทเรียนปฏิบัติการเพื่อผู้รอดชีวิตจากโรคโปลิโอและเพื่อน กล่าว เช่นเดียวกับโรแทเรียนอีกมากมายที่เป็นเหยื่อโรคโปลิโอ แอนน์เป็นปากเสียงอย่างแข็งขันในการรณรงค์บริจาคเงินสมทบกองทุนคำท้า 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ “ผู้พิการโปลิโอช่วยกันทำงานให้ภาคในฐานะประธานอนุกรรมการโปลิโอภาคและช่วยกันหาทุนจากการบริจาค ดิฉันได้เดินทางไปฮ่องกงเพื่อร่วมกิจกรรมหนึ่งที่สามารถหาทุนได้มากถึง 250,000 เหรียญ”




คนไม่มากนักที่ได้ยินเกี่ยวกับอาการผู้เคยเป็นโปลิโอ เปรียบเทียบกันกับตอนที่โรคแพร่กระจายอย่างน่ากลัวในช่วงศตวรรษที่ 20 เป็นเหตุให้มีกระแสความเคลื่อนไหวระดับประเทศในสหรัฐอเมริกาโดยประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ตอนนั้นผู้คนยังไม่รู้จักภัยจากโปลิโอทั้งหมด ผู้ที่ได้รับผลจากอาการผู้เคยเป็นโปลิโอซึ่งเป็นอาการที่ตรวจหาไม่พบ ขาดงานวิจัยติดตามฐานผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคโปลิโอ ทำให้เราไม่ทราบถึงความเกี่ยวข้องกันของอาการผู้เคยเป็นโปลิโอด้วย




อาการของโรคเกิดขึ้น 26 ปีมาแล้ว แต่แพทย์ไม่รู้วิธีที่จะวินิจฉัยหรือรักษามันได้ ฮัสเซย์กล่าว ทั้งนี้เนื่องจากว่าโรคโปลิโอถือว่าเป็นโรคที่ถูกขจัดไปหมดสิ้นแล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา ผลของโรคที่ตามมาไม่ค่อยเป็นที่สนใจอยากรู้กันเท่าไหร่ จึงไม่มีการศึกษาวิจัยกันในวงการแพทย์




หน่วยงานอนามัยผู้ป่วยผู้เคยเป็นโปลิโอสากลซึ่งทำงานร่วมกับกลุ่มปฏิบัติการโรตารีได้ตอบสนองต่อความขาดแคลนข้อมูลการศึกษาในเรื่องนี้โดยการจัดตั้งโครงข่ายผ่านเว็บไซท์ www.post-polio.org เชื่อมโยงผู้ป่วยโรคนี้เข้าด้วยกันและยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสองสามท่านที่มีประสบการณ์ในการดูแลรักษาอาการผู้ป่วยผู้เคยเป็นโปลิโอร่วมในเครือข่ายด้วย




ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีชีวิตรอดในช่วงที่มีการระบาดของโรคโปลิโออย่างรุนแรงในสหรัฐจะตายในอีก 40 ปีต่อมา นี่เป็นข้อเท็จจริงที่ลบล้างความเข้าใจผิด ๆ ที่ว่าโปลิโอเป็นประเภทของไวรัสที่ได้รับการศึกษาค้นคว้ามามากที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่ประเด็นอาการผู้เคยเป็นโปลิโอกลับมีคนรู้น้อยมาก เรายังคงต้องค้นคว้าหาข้อมูลมากยิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต เพราะคลื่นแห่งปัญหารอบใหม่ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในประเทศกำลังพัฒนากำลังตามมา




พวกเขาจะต้องมีชีวิตที่ทุกข์ทรมาน แล้วใครจะรับมือกับความเจ็บป่วยของเขา ใครจะช่วยให้เขาพาตัวเองจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้” ฮัสเซย์กล่าว




สำหรับ ศ.แดเนียล เจ. วิลสัน อาการผู้เคยเป็นโปลิโอหมายถึงการจัดการกับรายการของความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันที่จะทำเองไม่ได้อีกแล้วที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ “ผมไม่สามารถเดินเที่ยวในปารีสได้ ขึ้นรถไฟเองก็ไม่ได้” ท่านศาสตราจารย์อายุ 60 ปี แห่งวิทยาลัยมูเลงเบิร์กในเมืองอัลเลน รัฐเพนซิลวาเนียกล่าว เขายังเป็นผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์แห่งโรคโปลิโอในสหรัฐอเมริกาที่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย หนังสือเล่มดังกล่าวชื่อ “มีชีวิตอยู่กับโรคโปลิโอ – การระบาดของโรคและผู้มีชีวิตรอด”




วิลสันได้รับเชื้อโรคโปลิโอเมื่ออายุ 5 ขวบ ผู้เป็นมารดาของท่านให้การดูแลโดยการใช้ถุงน้ำร้อนซึ่งภายหลังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย กล้ามเนื้อของลำตัวด้านซ้ายที่ถูกทำให้อ่อนปวกเปียกเป็นผลให้กระดูกสันหลังคดงอ พออายุ 10 ขวบท่านเข้ารับการผ่าตัดเพื่อจัดกระดูกสันหลังและต้องเข้าเฝือกทั้งตัวเป็นเวลา 6 เดือน ท่านจบเกรด 5 ที่โรงเรียนใกล้บ้านในเมืองวอซอ รัฐวิสคอนซิน แล้วร่างกายก็เริ่มแข็งแรงขึ้นจนสามารถเข้าเรียนต่อไปได้เรื่อย ๆ จนจบปริญญาดุษฏีบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกิ้นส์




สัญญานแรกที่บอกว่าอาการหลังการเป็นโปลิโอเกิดขึ้นในราวกลางปี พ.. 2523 เมื่อ ศ. วิลสัน มีความลำบากในการยกเท้าข้างขวาออกจากคันเร่งเพื่อเหยียบคันเบรคในรถของท่าน จากนั้นไม่นานขาซ้ายก็ใช้เดินไม่ได้อีก กล้ามเนื้อก็เริ่มปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ แครอล ผู้เป็นภรรยาของท่านต้องช่วยถือของให้ ในขณะที่ท่านต้องนั่งเพื่อเล็คเชอร์ ถ้าจะเดินระยะใกล้ ๆ ก็ต้องมีไม้เท้า ระยะไกลหน่อยก็ต้องใช้สกูตเตอร์ และเมื่อสุนัขตัวโปรดพันธ์เทอร์เรียที่ชื่อ “แอบบี้” ตายลงตอนอายุ 16 ปี ท่านก็ปฏิเสธที่จะหาสุนัขตัวใหม่มาทดแทน ทั้งนี้ก็เพราะท่านพามันเดินเล่นไม่ไหวแล้ว ที่บ้านต้องติดลิฟท์คนพิการที่บันไดเพื่อเตรียมไว้เมื่อท่านหมดแรงยึดราวบันไดเพื่อพาตัวเองขึ้นไปชั้นบน




ผมมีชีวิตอยู่กับความแน่นอนที่ว่าผมไว้ใจร่างกายตัวเองไม่ได้อีกต่อไปแล้ว” วิลสันกล่าว




อับราแฮม ไลเบอร์แมน อายุ 72 ปี ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์โรคพาร์คินสันมูฮัมหมัดอาลี ณ สถาบันประสาทวิทยาแบร์โรวในเมืองฟีนิกซ์เริ่มมีความลำบากในการเดินในราวทศวรรษ 1900 บางครั้งต้องใช้ไม้เท้า จนราวปี พ.. 2544 ขาข้างซ้ายของเขาก็ใช้ไม่ได้อีกเลย เขาวินิจฉัยด้วยตัวเองได้ว่าเป็นอาการของโรคผู้เคยเป็นโปลิโอ แม้จะไม่เจ็บปวดที่กล้ามเนื้อหรือหัวข้อเข่าแต่ขาทั้งสองก็มีทุกข์จากการไม่มีเรี่ยวแรง


แม้จะทุกข์จากอาการเหล่านี้ แต่ผมก็จะไม่ตายจากโรคนี้ ถ้าอายุน้อยกว่านี้สัก 10 ปีผมคงจะมีความสุขกว่านี้” ไลเบอร์แมนกล่าว เขาได้รับเชื้อโปลิโอและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในปี พ.. 2487 ตอนนั้นอายุ 6 ขวบอาศัยอยู่ในนิวยอร์คและโดนโปลิโอเล่นงานจนเป็นอัมพาตเกือบทั้งตัว มารดาของเขาเขียนจดหมายถึงประธานาธิบดีโรสเวลท์เพื่อขอความช่วยเหลือ และท่านประธานธิบดีตอบกลับเชิงเห็นใจว่าเขาจะพยายามทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ ไลเบอร์แมนมีชีวิตวนเวียนอยู่กับเฝือก ความเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ และการผ่าตัด แต่เขาก็สามารถใช้ชีวิตต่อมาด้วยมือที่แข็งแรงและยังสามารถเดินเองได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์หรือคนช่วย เขาศึกษาจนจบแพทย์ ทำงานในกองทัพอากาศสหรัฐฯ ทำงานเป็นแพทย์ประจำประเทศญี่ปุ่นและต่อมาก็มาเป็นผู้เชี่ยวชาญโรคพาร์คินสัน


คุณอาจมีวิธีบรรเทาอาการเจ็บปวดหรืออ่อนล้าได้ แต่ไม่มีวิธีง่าย ๆ ในการวินิจฉัยหาสาเหตุได้” ผศ. จูลี ซิลเวอร์แห่งคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าว เธอเป็นอดีตผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโปลิโอสากล โรงพยาบาลสปอลดิ้ง เฟรมิงแฮมในรัฐแมสซาชูเซท “เราสามารถทำได้เพียงตัดประเด็นที่ไม่ใช่ต้นเหตุออกไป” หลังจากตัดปัญหาอย่างเช่นที่เกี่ยวกับไทรอยด์ และการอดนอนอันอาจเป็นสาเหตุของความอ่อนล้าออกไปแล้ว ก็พอพิจารณาได้ว่าอาการผู้เคยเป็นโปลิโอคือสาเหตุแห่งความเสื่อมถอยต่าง ๆ ในตัวคนไข้


ที่ศูนย์ฟื้นฟูและสถานที่อำนวยความสะดวกไม่กี่แห่งในประเทศนี้ที่มีความเชี่ยวชาญในอาการเจ็บป่วยผู้เคยเป็นโปลิโอ เราใช้วิธีประเมินอาการทั่วไปโดยนายแพทย์ที่มีความชำนาญและประสบการณ์อาการเหล่านี้ เราทำการศึกษาสภาพกล้ามเนื้อ ให้การอบรมทางกายภาพบำบัดและแนะแนวอาชีพ การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน และบริการจิตแพทย์


ผลที่ตามมาของการให้บริการทางจิตวิทยามีส่วนช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจเป็นอย่างมาก “สิ่งที่เกิดกับผู้ป่วยเหมือนผีซ้ำด้ำพลอย” ซิลเวอร์กล่าว เธอเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ “อาการผู้เคยเป็นโปลิโอ – แนวทางสำหรับผู้เป็นโปลิโอและบุคคลในครอบครัว” ผู้ป่วยที่รู้ผลของอาการเจ็บป่วยหลังการเป็นโปลิโอจะเริ่มต้นด้วยอาการตกใจที่ทราบว่าโรคโปลิโอที่ตนเองเป็นนั้นมันยังไม่จบแค่ความพิการที่เป็นอยู่ นอกจากนั้นอาการที่เกิดขึ้นทีหลังนี้ยังรักษาให้หายไม่ได้อีกด้วย คำแนะนำสำหรับการดูแลตนเองได้แก่ การปรับผังบ้าน การใช้เฝือกอ่อน การจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต ลดชั่วโมงการทำงาน และการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่นเครื่องช่วยหายใจ พาหนะขับเคลื่อน การลดอาการเจ็บปวด ตลอดจนการระมัดระวังอุบัติเหตุจากการล้ม


ทศวรรษที่ 1950 ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคโปลิโอต้องฝึกกายบริหารระหว่างการฟื้นฟูสภาพร่างกาย การฝึกร่างกายในช่วงนี้ผู้ป่วยต้องอดทนกับความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก แนวทางการฝึกกายภาพบำบัดล่าสุดได้เชื่อมโยงกับความท้าทายให้เกิดความมุ่งมั่นในผลของการฝึกอย่างจริงจัง ชาลส์ แอทลาสสอนให้ผู้คนรู้จักการฝึกสร้างกล้ามเนื้อด้วยการสร้างขุมพลังความตั้งใจและการออกกำลังกายแบบไอโซเมตริก (ออกกำลังกายโดยวิธีเกร็งกล้ามเนื้อ) และคุณนอร์แมน วินเซนต์ พีลจากหนังสือเรื่อง “พลังแห่งการคิดเชิงบวก” ก็บอกว่าทัศนคติคือทุกสิ่งทุกอย่าง ความคิดของทั้งสองท่านนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอเมริกัน


เมื่อคุณเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู เป้าหมายคือการเน้นกดดันให้คุณต้องปฏิบัติให้ได้มากที่สุดที่จะทำได้เหมือนเครื่องจักรที่ทำงานเต็มสมรรถนะ นักกายภาพบำบัดและสมาชิกในครอบครัวจะช่วยผู้ป่วยผู้เคยเป็นโปลิโอให้สามารถออกกำลังกายได้เต็มกำลังความสามารถที่มีอยู่ และในหลายกรณีส่งผลให้แผนการฟื้นฟูสภาพร่างกายได้ผลเป็นที่พอใจ” วิลสันกล่าว “เราชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 และเรานำโลกสู่ความก้าวหน้า ผู้ชายมักทำสิ่งที่สนับสนุนไปสู่ความเป็นชายชาตรี การต่อสู่กับความเจ็บปวดในระหว่างการฟื้นฟูนี้แสดงให้เห็นว่าคุณไม่เป็นคนอ่อนแอ”


พิงค์นีจำได้ถึงความปลื้มปิติที่ได้เห็นภาพการรณรงค์ขจัดภัยโปลิโอ “คุณจะทำให้คนเหล่านั้นผิดหวังได้อย่างไร พวกเขาอยู่ข้างคุณ เด็กโปลิโอได้เรียนรู้การเป็นเด็กดี” เธอกล่าว


อีกหลายปีต่อมาก็เกิดประเด็นอาการหลังการเป็นโปลิโอ แล้วมีผลงานวิจัยที่แสดงว่าการออกกำลังกายแบบที่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคโปลิโอปฏิบัตินั้นอาจก่อให้เกิดผลเสียข้างเคียง การเปลี่ยนความรู้ที่เคยสอนกันมาก่อนก็เหมือนกับการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมใหม่ วิลสันผู้ซึ่งเขียนหนังสือโดยมีบท ๆ หนึ่งพูดถึงโรคโปลิโอ ได้แสดงความเห็น การหยุดการให้คำแนะนำในการออกกำลังกายเท่ากับบอกให้ผู้เคยเป็นโปลิโอถอยหลังเริ่มต้นใหม่


เพื่อที่จะขจัดความปวดล้าและอ่อนแรงพิงค์นีต้องกลับไปสู่ตำราการรักษาแบบโบราณ “แต่มันทำให้ฉันเจ็บปวด” เธอกล่าว “ฉันควรจะอยู่สภาพที่ดีกว่านี้หากไม่ได้ทำการบริหารร่างกายแบบที่เคยทำ” วันนี้เธอต้องเดินโดยใช้ไม้เท้าและคาดว่าเธอคงต้องนั่งบนรถเข็นแบบเต็มเวลาในอีก 6 ปีข้างหน้า


โลกแห่งความเป็นจริงเช่นนี้เป็นที่คุ้นเคยสำหรับลอโร เฮลสเตดผู้อำนวยการโปรแกรมผู้เคยเป็นโปลิโอ ที่โรงพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูแห่งชาติ ในวอชิงตัน ดีซี และเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักในเรื่องของอาการผู้เคยเป็นโปลิโอ เฮลสเตดได้เคยจัดการประชุมใหญ่ทางการแพทย์สำหรับอาการผู้เคยเป็นโปลิโอเป็นครั้งแรกในปี พ.. 2527


ในช่วงทศวรรษที่ 1970 และ 80 เริ่มมีรายงานผู้ป่วยโรคโปลิโอที่รอดชีวิตแล้วมีอาการแสดงให้เห็นแล้วบ้าง ตอนนั้นหมอและคนไข้ต่างก็กลัวกันว่าอาจเป็นการฟื้นคืนชีพของไวรัส แพทย์บางท่านสงสัยว่าจะเป็นโรคไฟโบรมายอัลเจีย (fibromyalgia – โรคเจ็บปวดตามเนื้อตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ) หรือไม่ก็ โรคทางระบบประสาทส่วนกลาง (multiple sclerosis) บางท่านก็สรุปเอาว่าอาการของโรคนี้มีที่มาจากภายในศรีษะผู้ป่วยเอง เพื่อให้ได้รายงานที่เชื่อถือได้ เฮลสเตดจึงเข้าทำงานที่สถาบันบำบัดและวิจัยโรคแห่งมหาวิทยาลัยเบย์เลอร์ในฮูสตัน เขาจัดการประชุมของผู้เชี่ยวชาญระดับชาติ ณ สถาบันโรสเวลท์วอร์มสปริงเพื่อการฟี้นฟูในรัฐจอร์เจีย ซึ่งเป็นศูนย์โปลิโอที่ ฯพณฯ ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลท์เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น


เฮลสเตดขณะนั้นอายุ40ปีปลาย ๆ แล้ว เขาเป็นผู้รอดชีวิตจากโรคโปลิโอ เขาเองก็มีอาการเจ็บปวดที่ขาข้างหนึ่งแบบอธิบายอาการไม่ได้ เขาได้รับเชื้อโปลิโอตอนที่เรียนปีหนึ่งในมหาวิทยาลัย และต้องแบ่งใช้ชีวิตในปีถัดมาระหว่างการฝังตัวอยู่ใน(โรง) ปอดเหล็ก (Iron Lung) และรถเข็นจนเขาสามารถรักษาตัวเองให้แข็งแรงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เขาสูญเสียความสามารถในการใช้แขนและมือข้างขวา แต่ได้ฝึกใช้งานมือข้างซ้ายให้เขียนหนังสือได้จนเรียนจบ และมาเป็นผู้เชี่ยวชาญอาการบาดเจ็บของไขสันหลังที่โรงพยาบาลเบย์เลอร์ เขาคิดว่าโรคโปลิโอที่เคยเป็นนั้นรักษาจบไปแล้ว จนกระทั่งอาการเจ็บปวดกลับมาอีก


ขาที่ปวดนั้นช่างเหมือนกับอาการปวดขาที่ผมเคยเป็นตอนพิษของโปลิโอเริ่มเล่นงานผม โชคดีที่เรามีเครื่องไม้เครื่องมือดี ๆ ที่เบย์เลอร์ที่จะวินิจฉัย มันไม่ใช่ไวรัสโปลิโอแต่ก็ไม่มีใครบอกได้ว่ามันคืออะไร.” เฮลสเตดชายอายุ 74 ปีที่เป็นบรรณาธิการหนังสือเรื่อง การจัดการกับอาการผู้เคยเป็นโปลิโอ – แนวทางในการใช้ชีวิตและอยู่อย่างมีความสุขกับอาการผู้เคยเป็นโปลิโอ. กล่าว


จากนั้นเขาได้อ่านบทความของเดวิด วีเชอร์ส ซึ่งเป็นนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ เขาทำงานโดยใช้เครื่องมือตรวจจับกระแสไฟฟ้าสมองที่สามารถตรวจหาปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบประสาท วีเชอร์สได้ตรวจสอบผู้รอดชีวิตจากโรคโปลิโอซึ่งมีอาการที่เกิดขึ้นคล้าย ๆ กัน และได้พบความเปลียนแปลงในระบบประสาทที่น่าตกใจ การค้นพบของเขาทำให้เกิดคำถามต่าง ๆ มากกว่าคำตอบที่เคยมี




สื่อมวลชนรับทราบเพียงว่านี่คือการกลับมาของโรคโปลิโอซึ่งตามมาด้วยการตีพิมพ์รายงานการประชุมของเฮลสเตดมากมาย ชัยชนะจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้คือการได้รับการสนับสนุนให้มีการวิจัยเพิ่มมากขึ้น การศึกษาพบว่าความจริงโปลิโอไม่ได้กลับคืนชีพ เราพบว่ามีไวรัสโปลิโออยู่บ้างในผู้ป่วยบางรายแต่ก็ไม่มากพอที่จะก่อให้เกิดโรคโปลิโอซ้ำซ้อน ในเวลาไม่นานนักนักวิจัยก็สามารถสรุปและตั้งชื่อความผิดปกตินี้และอธิบายลักษณะต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนขึ้น




สมุฏฐานโรคก็คือ ระหว่างที่เกิดการแพร่กระจายไวรัสโปลิโอเฉียบพลัน ผู้ป่วยได้สูญเสียเซลประสาทสั่งการ ซึ่งเป็นเซลประสาทที่นำสัญญานมาสู่กล้ามเนื้อ มากกว่าร้อยละ 50 มีอาการอ่อนล้าและถึงกับเป็นอัมพาต ระบบประสาทจัดการดัดแปลงซึ่งจะทำให้ประสาทสั่งการหมดความสำคัญไป




ลองจินตนาการตามดู ว่าหากแขนข้างขวาถูกเล่นงานโดยโปลิโอและแขนซ้ายปลอดภัย เซลประสาทที่ตายไปของแขนขวาไม่สามารถกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทำงานได้ ดังนั้นกล้ามเนื้อก็เริ่มแคระแกร็นแต่ก็ยังสามารถส่งสัญญานเคมีให้แขนซ้ายยังคงผลิตก้านใยประสาทซึ่งเป็นส่วนปลายของระบบประสาทที่กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเกิดขึ้นเพื่อการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้ทำงาน ความหายนะก็คือการที่ระบบมีการสร้างก้านประสาทแบบนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ




ลองคิดถึงปริมาณเมตะบอลิสม์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเคมีที่นำไปสร้างก้านใยประสาทแต่ละก้าน ในที่สุดประสาทสั่งการก็ล้มเหลวและเป็นเหตุให้เกิดความอ่อนแอของกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ.” เฮลสเตดกล่าว การออกกำลังกายจึงเป็นการเร่งการเจริญเติบโตของก้านใยประสาทให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ




คำถามเกี่ยวกับอาการหลังการเป็นโปลิโอมีมากกว่าคำตอบที่มีอยู่มากมายนัก ทำไมบางคนจึงมีอาการ บางคนไม่มี สภาพเช่นนี้จะรักษาได้อย่างไร และเราสามารถป้องกันได้หรือไม่




ยังไม่มีงานวิจัยชิ้นใหม่ ๆ ออกมามากนัก อาการผู้เคยเป็นโปลิโอยังเปรียบเสมือนสภาพของลูกกำพร้า เพราะมีวิกฤตการณ์ไม่กี่ครั้งตั้งแต่โรคโปลิโอกลายเป็นเชิงอรรถในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ก่อนที่โรคนี้จะถูกค้นพบโครงการรณรงค์ต่อสู้กับโรคโปลิโอมาร์ชออฟไดมส์ถูกวางเป้าหมายความสนใจไปที่ความผิดพลาดของเด็กที่เกิดมา




ยังมีงานบางส่วนที่ทำต่อเนื่องอยู่ สถาบันวิทยาศาสตร์ระบบประสาทและการเจ็บปวดจอห์น พี. เมอร์ธา ในเมืองจอห์นสทาวน์ รัฐเพนซิลวาเนียกำลังค้นคว้าวิธีการออกกำลังกายที่ไม่เพิ่มความอ่อนล้า และพฤติกรรมการลดความเครียด ซึ่งทำกันที่คลินิคผู้รอดจากโรคโปลิโอ การศึกษาในประเทศแคนาดา ฝรั่งเศส นอร์เวย์ และสวีเดนแสดงให้เห็นว่าระบบภูมิคุ้มกันมีอิทธิพลต่ออาการผู้เคยเป็นโปลิโอ และความสนใจในการทดลองทางคลินิกระยะยาวในอเมริกาจะสามารถเลียนแบบการเกิดภูมิต้านทานเช่นว่านั้น การวิจัยจะนำไปสู่การสร้างโปรตีนแกมมาโกลบูลินที่จะสามารถลดความรุนแรงของอาการลงได้








เฮลสเตดกล่าวว่าการศึกษาต่าง ๆ ดูจะหดหายไปในช่วง 5 ถึง 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เพราะผู้รอดชีวิตจากโรคโปลิโอในสหรัฐตายไปบ้าง และมีความสับซ้อนมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอายุมากขึ้นทำให้ลำบากในการทำวิจัย แต่อาการป่วยก็ยังคงมีอยู่ต่อไปหลายปี




ตอนนี้เรื่องนี้ก็เริ่มเป็นประเด็นในประเทศอินเดีย และอีกไม่นานก็จะเป็นเหมือนกันในทุกประเทศที่กำลังพัฒนา เมื่อผู้คนมีอายุเฉลี่ยยาวนานมากขึ้น.” ฮัสเซย์ แห่งกลุ่มปฏิบัติการโรแทเรียนกล่าว ในขณะที่ความพยายามของโรตารีในการขจัดโรคโปลิโอให้หมดไปจากโลกเริ่มทำให้โอกาสแห่งการเกิดผู้เป็นโรคโปลิโอใหม่น้อยลงเรื่อย ๆ องค์การอนามัยโลกประมาณไว้ว่าจะมีผู้เคยเป็นโรคโปลิโอทั่วโลก 10 – 20 ล้านคน. “เมื่อผู้ติดเชื้อโปลิโอรายสุดท้ายถูกค้นพบแล้วหนทางยังอีกยาวไกลมากนักที่อาการหลังจากเป็นโรคโปลิโอจะยังคงมีอยู่ต่อไปเพื่อท้าทายคนแต่ละคน สังคม วิวัฒนาการทางการแพทย์ การเงินและการเมือง.” ฮัสเซย์กล่าว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น