วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562

WHY WE VOLUNTEER



เป็นอาสาสมัครดีอย่างไร
ก็ดีที่เข้าถึงปิติอย่างไร้ขีดจำกัดไงล่ะ

โดย เชอร์รี่ สตีเฟนสัน
———————
คืนก่อนที่จะเดินทางไปกัวเตมาลาซิตี้ ฉันรู้สึกมีความกังวลแปลก ๆ แบบอธิบายไม่ถูก  การที่ฉันมีวิชาชีพพยาบาลทำให้ตัดสินใจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สมัครเป็นอาสาสมัครทำงานเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์กับองค์กรแชร์บีท ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ดำเนินงานคลินิกในกัวเตมาลา โดยมีอาสาสมัครจากประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังให้ทุนการศึกษาสำหรับชาวกัวเตมาลาที่ใฝ่หาอาชีพในด้านการแพทย์ การพยาบาลและสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้อง ความมุ่งมั่นในเป้าหมายขององค์กรแห่งนี้คือสิ่งที่ฉันแสวงหา กอปรกับความรู้สึกอยากช่วยเหลือและได้คลุกคลีกับกลุ่มคนที่มีความต้องการเหมือนกันทำให้ฉันตัดสินใจสมัครงานนี้
แต่ตอนที่กำลังเก็บสเปรย์กันแมลงกับยากันท้องเสียของนักเดินทางใส่กระเป๋า ฉันหวนคิดถึงห้วงเวลาที่เคยทำงานอาสาสมัครในต่างประเทศเมื่อห้าปีที่แล้ว แม้ว่าฉันจะตั้งใจเต็มร้อยกับงานครั้งนี้ เพราะเคยทำอะไรที่คล้าย ๆ กันมาแล้วที่อเมริกากลาง เฮติ และอัฟริกา แต่ครั้งนี้ฉันรู้สึกเหมือนร้างมานานเกินไป  ค่ำคืนนั้นกระทรวงต่างประเทศประกาศเตือนผู้เดินทางไปกัวเตมาลาในระดับ ๓ หมายความว่าให้ทบทวนการตัดสินใจเดินทาง
ฉันจึงลองนั่งทบทวนการตัดสินใจ ฉันมีคนไข้ที่อยู่ในความรับผิดชอบต้องดูแล มีครอบครัว มีต้นไม้จำนวนหนึ่งที่ปลูกเลี้ยงไว้ มีสัตว์เลี้ยง มีแม่ที่เป็นหม้ายที่ต้องคอยระวังไม่ให้ล้ม  ระยะเวลาสั้น ๆ ที่เดินทางไปนี้แม้จะช่วยให้เข้าใจอะไรดีขึ้นแต่ก็ต้องพบกับความไม่สะดวกสบายอยู่บ้าง ที่สำคัญไม่มีใครทักท้วงให้หยุดความคิดที่จะเดินทางครั้งนี้เลย  ยิ่งไปกว่านั้นสามีอันเป็นที่รักยังพูดส่งท้ายว่า “เราคงเป็นห่วงคุณบ้าง แต่ถ้าไม่ไปคุณคงสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองไป”
ที่สนามบินกัวเตมาลา มีคนคอยรับอยู่สองคนกับรถบัสโรงเรียนที่ว่างเปล่าอีกคันหนึ่ง  รถแล่นผ่านภูเขาหลายลูก แล้วจู่ ๆ เพื่อนคนขับรถก็กระโดดไปที่ประตูรถ วิ่งไปบนถนนท่ามกลางการจราจรเพื่อโบกขอทางรถเพื่อเปลี่ยนเลน ซากปรักหักพังของบ้านเมืองที่ยังมีควันไฟคุกรุ่นอยู่ ฉันทอดสายตาไปที่แสงอาทิตย์ที่รอดผ่านบนท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยละอองฝุ่น และสงสัยกับตัวเองว่าบรรดานกกาบินผ่านหมอกควันมาได้อย่างไร
กุสตาฟ โฟลแบรต์ กล่าวว่าการเดินทางทำให้คนอ่อนน้อมถ่อมตน คุณจะรู้ว่าที่ ๆ คุณอยู่นั้นมันเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ในโลก พอไปอยู่ท่ามกลางฝูงสุนัขจรจัด พุ่มดอกไม้สีแดงที่รอดออกมาจากรั้วบ้าน เสียงเอะอะตะโกนของพ่อค้าหาบเร่ขายมะขาม ข้าวโพดปิ้ง และมะม่วงปอกสลักเปลือก ฉันเข้าใจสิ่งที่กุสตาฟพูดถึงเลย  พลาซ่าใกล้เกสต์เฮาส์ที่พัก เด็ก ๆ แย่งลูกโป่งกัน  คนในครอบครัวจูบลากันตรงมุมถนน ฉันแวะซื้อกล้วยปิ้งที่ปิ้งทั้งเปลือก รสชาติมันเหมือนเนยยี่ห้อซันไรส์มาก ฉันเพิ่งนึกได้ว่ากระดาษแก้วเช็ดปากที่ใสเหมือนแก้วน้ำนั้น ในบางส่วนของโลกถือว่าเป็นของใช้ที่หรูหราเลยทีเดียว
อาสาสมัครของกลุ่มเรามีจำนวน ๒๖ คนซึ่งทั้งหมดมาจากสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักศึกษาวิชาการแพทย์ และผู้เกษียณการทำงานจากหลากหลายวิชาชีพ ในจำนวนนี้มีหลายคนที่เคยมาร่วมงานลักษณะนี้ทุก ๖ เดือน ตอลดเวลา ๑๒ ปีที่ผ่านมา ในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่อยู่ด้วยกันต่างคนต่างต้องหาน้ำดื่มเอง แบ่งขนมกันทาน ถามไถ่กันถึงสุขภาพท้องไส้จากการทานอาหาร  ทุกคนจะต้องตื่นท่ามกลางอากาศหนาวเย็นในตอนเช้ามืด นั่งรถแวนไปตามโรงเรียนและคลินิกต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่
คนไข้คนแรกที่ฉันพบมีบาดแผลที่ได้รับจากการไปค้นขยะในเมืองกัวเตมาลาซิตี้ เธอมีอัธยาศัยดี ตัวคล้ำแดด บริเวณใต้เข่าลงไปมีฝุ่นเกาะเต็มไปหมด และเธอภาคภูมิใจในอาชีพที่ทำที่เก็บเอาเศษพลาสติกและทองแดงจากสายไฟไปผ่านกระบวนการหลอมกลับไปใช้ใหม่ ทำให้ฉันคิดถึงของที่ฉันทิ้งไปในช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์เช่น พวกหลอดยาสีฟัน ใบมีดโกน ขวดแชมพู และถุงซิปใช้แล้ว
อีกรายหนึ่งเป็นหญิงชาวมายันแต่งกายในชุดตกแต่งด้วยลูกไม้แบบพื้นเมือง เธอพล่ำร้องไห้เนื่องจากสูญเสียลูกชายไป "ฉันมีลูกอีกคน แต่ลูกทุกคนก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตฉัน ตอนนี้ชีวิตฉันมันไม่สมบูรณ์เสียแล้ว" เธอยังได้สาธยายให้ฟังชีวิตที่แสนลำบากของเธอ ตั้งแต่วันที่ต้องหลบหนีออกจากบ้านที่อยู่บนที่ราบสูงเนื่องจากเกิดสงครามกลางเมืองกัวเตมาลา ต้องสูญเสียครอบครัวไปในสงครามความขัดแย้งที่ยาวนาน ๓๖ ปี เธอได้เข้ากลุ่มสตรีเพื่อเกื้อกูลกันทางจิตใจ และที่เธอมาที่คลินิคนี้ก็เพื่อแบ่งปันเรื่องราวของเธอร่วมกับผู้เคราะห์ร้ายอื่น ๆ ความเชื่อใจและเปิดใจกันเช่นนี้ถือเป็นเกียรติสำหรับคนที่มาจากถิ่นต่างภาษากับเธอ
แดดช่วงกลางวันสว่างจ้าและอุณหภูมิก็สูงขึ้น  กลิ่นเหม็นจากกองขยะบนนถนนที่อยู่ใกล้เคียงโชยไปทั่วบริเวณ  บางช่วงมันเหมือนจะจุกอยู่ที่ลำคอ เหมือนถูกจับเอาหัวยัดในถังขยะช่วงหน้าร้อนที่อากาศอับชื้น "คุณจะไม่มีวันคุ้นชินกับมัน"  ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าว  "แม้คนที่อยู่ที่นี่มาตลอดชีวิตก็ตาม"  อาหารกลางวันส่วนมากจะเป็นข้าวกับถั่ว หรือซุปเมล็ดฟักทอง และอะไรคล้าย ๆ กันนี้ที่มีเสริฟในโรงอาหาร  การดูแลคนไข้และการติดตามผลการรักษาที่เป็นไปได้ก็เพราะยังมีคนในพื้นที่ที่ทำงานเข้มแข็งเช่นพยาบาล เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์แและผู้ประสานงานโครงการ ซึ่งคนหลังนี้คือคนที่เราคุยปรึกษากันด้วยตลอด  ช่วงเวลาพัก พวกอาสาสมัครจับกลุ่มคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เคยผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ให้ความเพลิดเพลินได้บ้าง จากการได้รู้จักกับพวกเขาที่นี่
ระยะเวลาเดินทางจากคลินิคไปชุมชนนั้นประมาณหนึ่งถึงสองชั่วโมงขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร  เรานั่งเบียดกันไหล่ชนไหล่ในรถแวน ระหว่างนั้นเราฆ่าเวลาด้วยการคุยกัน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนไข้ที่พบในคลินิค บางทีเราก็คุยกันเรื่องความยั่งยืนและความจำเป็นที่ต้องมีโปรแกรมทุนการศึกษา  ตอนกลางคืนการพูดคุยกันแบบตัวต่อตัวก็มักขยายวงกว้างออกเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น อย่างครั้งหนึ่งมีการคุยกันของอาสาสมัครที่เป็นชาวกัวเตมาลาแล้วอพยพไปอยู่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่ยังเล็ก เธอเล่าให้ฟังว่าตอนเด็ก ๆ เคยรู้สึกเวทนาผู้คนที่ตกอยู่ในฐานะอับจน แต่เธอคิดว่าความรู้สึกนั้นไม่ถูกต้อง  เธออาจมีความรู้สึกเห็นใจ นั่นเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่คนไข้ที่เราพบกันมักมีฐานะดีมาก่อน มีความพอเพียงและรักศักดิ์ศรีของตน
ในคืนถัดมา มีเสียงคนฮัมเพลงของจอห์นนี่ แคช  พอพวกเราตื่นขึ้นตอนตี ๕ และรู้ว่าจะมีคนไข้รวม ๆ กันนับร้อยรายรออยู่ ตอนขึ้นรถแวนบรรยากาศก็ชวนให้เครียด และแล้วโดยมิได้นัดหมายพวกเราก็ร่วมกันขับกล่อมเพลง (ของจอห์นนี่ แคช) "ริงออฟไฟร์" อย่างพร้อมเพรียง

ความรักคือพญาอัคคี
มันสร้างวงแหวนแห่งเปลวเพลิง
และมันเผาไหม้ เผาไหม้ เผาไหม้ทุกสิ่ง
วงแหวนแห่งเพลิง
การพลัดพลากจากชีวิตที่คุ้นเคยเปิดประตูสู่ชีวิตที่สร้าง
ความประหลาดใจได้ตลอดเวลา เช่นเสียงกระหึ่มดังของ
นกฮัมมิ่งเบิร์ด รสชาติอาหารสุดแปลก เด็กน้อยที่กระโจน
เข้ากอดเราแน่นเพื่อแสดงการต้อนรับทักทายแบบของเขา
ก็ไม่ใช่ว่าทุกกลุ่มจะได้อย่างใจเสมอ ภารกิจภาคสนามบางเที่ยวก็ต้องทำใจ บางครั้งระหว่างทางรถติดหล่มในโคลน แผ่นดินไหวครั้งหนึ่งทำเอาผู้คนแตกตื่น ผู้คนเจ็บป่วย บางครั้งตัวอาสาสมัครเองก็ทำเป็นทองไม่รู้ร้อนกับสถานการณ์คับขัน ทำเอาคนอื่นเดือดร้อน
แต่ทีมที่มีความรับผิดชอบก็ช่วยให้สถานกาณ์ราบรื่นขึ้น พวกเราก็สามารถให้บริการได้มากและดีกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ แม้ว่าในช่วงแรก ๆ ฉันจะรู้สึกอีดอัดกระวนกระวายใจอยู่บ้าง แต่ตอนนี้ฉันรู้แล้วว่าทำไมฉันจึงอยากมาที่กัวเตมาลา ก็เพราะการหลอมรวมกับคนอื่นที่มีความแตกต่างกับเรา ทำให้เรากลายเป็นอีกคนหนึ่งที่ล่วงรู้ถึงมุมอื่น ๆ ของโลกที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ก็เพราะโอกาสแห่งการได้เป็นอาสาสมัครได้เผยโลกทัศน์ที่เคยถูกปิดบังไว้ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม ประเพณี ความทุกข์ที่ผู้คนต้องต่อสู้ และการแก้ปัญหาของพวกเขา ก็เพราะขั้นตอนทั้งหมดเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันทั้งการบดขยี้เป็นชิ้นละเอียดและการยืดเหยียดตัวฉันออก ก็เพราะการพลัดพลากจากชีวิตที่คุ้นเคยเปิดประตูสู่ชีวิตที่สร้างความประหลาดใจได้ตลอดเวลา เช่นเสียงกระหึ่มดังของนกฮัมมิ่งเบิร์ด รสชาติอาหารสุดแปลก เด็กน้อยที่กระโจนเข้ากอดเราแน่นเพื่อแสดงการต้อนรับทักทายแบบของเขา
ตอนอยู่ที่บ้าน ฉันมักไม่ค่อยสนใจกับบทเรียนชีวิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ที่โรงพยาบาลฉันทำงานไปแต่ละวันด้วยจิตสำนึกว่าเราโชคดีเหลือเกินที่สามารถนำเอาความดีงามและความเข้มแข็งมาใช้ในการทำงานได้ กระนั้นก็ตามบางครั้งก็รับไม่ได้กับเรื่องขุ่นเคืองใจเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่เกิดค้างขึ้นมา หรือเวลาจะไปว่ายน้ำแล้วแว่นกันน้ำหัก ฉะนั้นการได้เข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง ก็ช่วยฉุดรั้งอัตตา และพยุงให้จิตใจลอยเหนือความคับข้องใจได้บ้าง และยังช่วยให้มีทัศนคติใหม่ ๆ ในการทำงาน เช่นมันช่วยให้เกิดมุมมองของประโยชน์ในงานที่ทำซึ่งบางครั้งอาจรู้สึกเบื่อหน่ายจนอยากโยนงานทิ้ง ฉันเกิดความมุ่งมั่นมากขึ้นในการทำงานจากการได้เป็นอาสาสมัคร ไม่ว่าจะแค่แปดชั่วโมงหรือแปดวัน จากนั้นฉันก็จะกลับบ้านพร้อมกับพลังงานที่ชาร์ตไว้เต็ม
การเดินทางของกลุ่มอาสาสมัครบางครั้งต้องเข้าไปในพื้นที่ที่ยากจนสุด ๆ มันสะท้อนให้เราคิดถึงสิ่งจำเป็นในชีวิตบางอย่างที่เรามองข้ามความสำคัญของมันไปในเวลาปกติ เช่นหลังคาบ้าน ตู้เย็น น้ำประปาที่ดื่มได้ และมองข้ามความโชคดีที่เรามีชีวิตสะดวกสบาย มีเครื่องล้างจาน มีโทรศัพท์มือถือ มีรถส่วนตัวใช้ แต่บางครั้งแม้เป็นห้วงเวลาสั้น ๆ ที่จากบ้านมา เราถึงกับนึกละอายใจที่ไม่พอใจกับความรู้สึกไม่เพียงพอ ทั้งที่เราอยู่ในโลกที่มีพร้อมทุกอย่าง

ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอาจใช้ประโยชน์ได้มากเกินความจำกัดที่เห็นก็ได้ เพียงเราสามารถเชื่อมโยงช่องว่างของความจำเป็นกับทรัพยากรที่มีอยู่ให้ได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์ บ่อยครั้งที่ฉันต้องพยายามใช้ความจำของสมองให้หนักขึ้น ผิดกับตอนอยู่บ้านซึ่งเราจะไม่ค่อยใช้งานสมองมากเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเพื่อการบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือการสืบค้นเรื่องราวในอดีต

เช้าวันสุดท้ายในกัวเตมาลา พวกเรารวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อเดินเท้าไปบนพื้นที่สูงชันของเมือง ฝนเริ่มตกปรอย ๆ เราเห็นสายรุ้งพาดผ่านกลางเมือง ทุกคนพยายามถ่ายภาพนั้นไว้ แต่ภาพในกล้องของแต่ละคนไม่มีสายรุ้งนั้นอยู่ด้วย ทำให้การมองเห็นสายรุ้งในวันนั้นมีคุณค่ามากสำหรับพวกเรา

ฉะนั้นภาพที่เรามองเห็นคือท้องฟ้าเปล่า ๆ แล้วเราก็จ้องมองหน้ากันและกัน เหมือนคนในครอบครัวที่ล่วงรู้เรื่องขำขันประจำครอบครัวที่ไม่ต้องเล่าก็ขำได้
-----------------------

เชอร์รี่ สตีเฟนสัน เขียนเรื่อง "คุณย่าท้าพาย" ดีบอร่าห์ วอลเทอร์ สำหรับลงในนิตยสารเดอะโรแทเรียนฉบับเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐

     







------------------------------
Why we volunteer
Because otherwise we remain pressed for contentment
by  SHIRLEY STEPHENSON

The night before I left for Guatemala City, I was seized by inexplicable anxiety. A nurse practitioner, I had volunteered to spend a week last February working with Shared Beat, a nonprofit that runs clinics in Guatemala staffed in large part by volunteers from the United States. It also provides scholarships for Guatemalans pursuing careers in medicine, nursing, and related fields. I admired the organization’s ambitious agenda, and I needed the sense of contribution and connection that comes with any volunteer effort.
            But as I packed my insect repellent and antibiotics for traveler’s diarrhea, I realized it had been five years since I had volunteered abroad. Despite my enthusiasm for this trip — and my previous work in Central America, Haiti, and Africa — I felt out of practice. That night before leaving, I checked the U.S. Department of State travel advisory for Guatemala. Level 3: Reconsider travel.
            I questioned my decision. I’m responsible for patients at work. I have a family, plants, pets, and a widowed mom afraid of falling. Even this short trip would create some apprehension and inconvenience. Yet no one said, “Don’t go.” On the contrary, my husband said when I left: “We’ll worry about you a little. But you wouldn’t be you if you didn’t do this.”
            I was greeted at the airport in Guatemala by two men and an otherwise empty school bus. As we wound through the mountains, the driver’s companion intermittently swung open the bus’s folding door and leaned into traffic, gesticulating and whistling to signal lane changes. Burning debris and exhaust fumes shrouded the capital. I squinted in the dusty sunlight, astonished at how many birds dived through the haze.
            Flaubert said travel makes one  modest: You see what a tiny place you  occupy in the world. Amid the patchy dogs, the scarlet bougainvillea punching through iron gates, and the shouts of roadside vendors selling tamales, elote, and skewered mango carved into blossoms, I understood what Gustave was getting at. In the plaza near the guesthouse, children chased balloons. A family parting on a corner blessed one another before kissing goodbye. I stopped to eat a plantain that had been roasted in its peel until it tasted like a buttery sunrise, and I was reminded that in many parts of the world a napkin, like a glass of drinkable water, is an extravagance.
            The volunteers in our 26-person group came from all over the United States. We were a mix of doctors and nurses, medical students, an audiologist, and retirees from various professions. Several volunteers had been participating every six months for the past 12 years. Throughout the week we filled each other’s water bottles, shared snacks, and inquired about one another’s gastro-intestinal health. Everyone woke in the chilly, dark hours of morning and traveled by van to different schools and clinics.
            The first patient I saw had a leg wound sustained while scavenging in the vast garbage dump in Guatemala City. She was gregarious, sunburned, covered in dirt from the knees down, and proud of her job recycling plastic and copper stripped from discarded wiring. I thought of all the trash I would shed in just one week — travel-size toothpaste tubes, a disposable razor, mini shampoo bottles, zip-close bags.
            Another patient, a Mayan woman in a traditional embroidered dress, expressed her grief after the loss of a son: “I have other children, but each is a part of me. Now I am incomplete.” She described other hardships she had endured, such as fleeing her home in the highlands during Guatemala’s civil war and losing family during that 36-year conflict. She had already joined a women’s support group, but she came to the clinic because sharing her story helped her. This level of trust and intimacy, always a privilege, seems even more astounding in another language and landscape.
           Afternoons were temperate and sunny. A breeze carried the stench of garbage through neighboring streets. At times it locked your throat as if you had put your head in a dumpster on a humid summer day. “You never get used to it,” said a resident, “even after a lifetime here.” Lunch was rice and beans or pumpkin seed stew, whatever was being served in the cafeteria. Patient care and any needed follow-up were possible because of the extraordinary local nurses, social workers, and program coordinators with whom we partnered. When not working, fellow volunteers discussed their lives at home. I learned about rattlesnake bites, Maine’s treacherous tides, favorite books, cattle ranching, and coordinating disaster relief. I relished this exchange with people I wouldn’t otherwise have met.
            Depending on traffic, the commute to and from the clinics took one or two hours. Shoulder-to-shoulder in the vans, we had time to kill. Some conversation unfolded quietly and focused on clinical cases; on other occasions, we discussed sustainability and the necessity of the scholarship program. At night, those one-on-one talks often spread into animated group discussions, as when one of the volunteers, who had been raised in Guatemala but moved to the United States in her teens, recalled that as a child, she had pitied anyone living in such poverty. “But it’s completely the wrong sentiment,” she asserted. Compassion, yes. But the patients we saw were resilient, self-sufficient, and dignified.
            Another evening, someone began humming a Johnny Cash tune. We had been up since 5 a.m. and collectively seen hundreds of patients. Giddiness hijacked the van, and everyone joined in a spectacularly awful rendition of “Ring of Fire”:
                        Love is a burning thing 
And it makes a fiery ring ... 
And it burns, burns, burns 
The ring of fire.

            Not every group is ideal. I’ve been on those trips, too. Sometimes the van gets stuck in the mud, an earthquake splinters life into chaos, or people get sick. Sometimes participants are cavalier and put others at risk.
            But with a responsible team, a service trip gives more than it asks. Despite my early jitters, I now knew why I had needed to come to Guatemala: because the human connection dissolves differences, and an unfamiliar corner of the world becomes part of my fabric. Because opportunities to volunteer reveal the overlap in cultures, traditions, struggles, and solutions. Because the process simultaneously grounds and stretches me. Because leaving my daily routine opens me to surprise: a hummingbird’s whirr, a foreign flavor, a child-flinging his arms around me in a frenzy of welcome.
            At home, I’m more likely to overlook the lessons that life offers. I work in a hospital, where every day reminds me how fortunate I am while providing examples of strength and grace. Still, it doesn’t always curb my irritation when my computer freezes or my swim goggles break at the gym. A different environment reinforces humility and transcends perceived divisions. It also alters my approach to work: It’s easier to see the usefulness of tasks that might otherwise seem rote or tiresome. I hustle more purposefully when I’m volunteering, be it for eight hours or eight days. Then I carry that energy home.
            Most volunteer trips take us to regions that are less economically rich. This reminds us how we take for granted certain necessities — our roofs, our refrigerators, our drinkable tap water — and overlook our fortune in having certain luxuries: our dishwashers, our smartphones, our private cars. Yet even a short time away also underscores how, within this world of amenities, we remain pressed — not just for a time, but for contentment.
            Fewer resources can spur resourcefulness. We see what’s enough and creatively bridge gaps. Often, I end up using my memory, the database I don’t depend on nearly enough when at home, to record the present and recall the past. Our last morning in Guatemala, a small group of us hiked to an overlook. It began drizzling, and a rainbow stooped over the town. We aimed our cameras, but the rainbow didn’t appear in anyone’s photos, making it that much more of everything a rainbow should be.
            So we just watched the sky and grinned at one another, like a family acknowledging a private joke that no one needs to put into words.

Shirley Stephenson wrote about “kayaking grandma” Deborah Walters for the November 2017 issue of The Rotarian.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น