วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2557

การยกร่างแก้ไขข้อบังคับสโมสร


การยกร่างปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับสโมสรโรตารีบางเขน (มีนาคม ๒๕๕๗)
หลักการและเหตุผล
โรตารีสากลแนะนำให้สโมสรต่าง ๆ ได้ทำการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับสโมสรทุกปี เพื่อให้สอดรับกับสภาพความจำเป็นที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับผลของการประชุมสภานิติบัญญัติโรตารี ๒๕๕๖ มีการแก้ไขข้อบังคับโรตารีสากลและธรรมนูญมาตรฐานสโมสร ที่เป็นกรอบและกำหนดอำนาจให้กับข้อบังคับสโมสร  ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าว สโมสรโรตารีบางเขนเห็นสมควรดำเนินการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับของสโมสรฉบับที่มีการแก้ไขล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕
โดยสโมสรฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณายกร่างแก้ไขข้อบังคับสโมสรประกอบด้วย
นย. ณรงค์ศักดิ์ โรจนสกุล                 อน. สมพจน์ สัจจรจนา                     นยล. เกื้อกวลิน เอกกุลกนก   
นยล. อานุภาพ ธีรณิสรานนท์             อน. ชูพงษ์ ชูครุวงศ์                         และ อน. สุรกิจ เกิดสงกรานต์
โดยมี อน. สุรกิจ เกิดสงกรานต์ เป็นประธานประสานงาน
คณะกรรมการชุดดังกล่าวมีประชุมพิจารณายกร่างแก้ไขข้อบังคับสโมสร เมื่อวันอังคารที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๗ โดยมีมติให้เสนอแก้ไขข้อบังคับดังต่อไปนี้
มาตรา
(มาตราเดิม)
เนื้อหาข้อบังคับ
เหตุผล และคำอธิบาย
1.      มาตรา ๑
2.      บทนิยาม
(เดิมไม่มี)
1. คณะกรรมการบริหาร หมายถึง คณะกรรมการบริหารของสโมสรแห่งนี้
2. กรรมการบริหาร หมายถึง กรรมการในคณะกรรมการบริหารของสโมสรแห่งนี้
3. สมาชิก หมายถึง สมาชิกที่ไม่ใช่สมาชิกกิตติมศักดิ์ในสโมสรแห่งนี้
4. โรตารีสากล หมายถึงองค์กรโรตารีสากล
5. ปี หมายถึง ระยะเวลา ๑๒ เดือน เริ่มต้นจากวันที่ ๑ กรกฎาคม
ในข้อบังคับสโมสรโรตารีบางเขน (แก้ไขกรกฎาคม ๒๕๕๕) มิได้มีบทนิยาม ทำให้เกิดปัญหาในการตีความ คาดเดา การใช้ศัพท์เฉพาะในข้อบังคับ
จึงเห็นควรมีการบัญญัติศัพท์เป็นมาตรา ๑ ของข้อบังคับ
3.      มาตรา ๒
4.      คณะกรรมการบริหาร
(เดิมคือมาตรา ๑)
องค์บริหารของสโมสรโรตารีบางเขนประกอบด้วย นายกสโมสร อุปนายก ๒ ท่าน นายกผ่านพ้น นายกรับเลือก เลขานุการ เหรัญญิก ปฏิคม ที่ปรึกษา ๔ ท่าน ประธานฝ่าย ๘ ท่าน ประธานแผนกลยุทธ์ และกรรมการอีก ๒ รวม ๒๒ ตำแหน่ง กรรมการท่านใด ผู้ดำรงตำแหน่ง ๒ ตำแหน่ง มีสิทธิลงคะแนนเสียงเพียง ๑ เสียงในการประชุมคณะกรรมการบริหาร
พิจารณาเพิ่มจำนวนคณะกรรมการบริหาร เพื่อให้อำนาจแก่โรแทเรียนที่ได้รับมอบหมายปฏิบัติหน้าที่ ได้อยู่ในคณะกรรมการบริหาร และตัดกรรมการบางตำแหน่งออก
5.      มาตรา ๓
6.      การเลือกคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่
หมวด ๑
(เดิมคือมาตรา ๑)
ในการประชุมปกติหนึ่งเดือนก่อนการประชุมเพื่อเลือกตั้งนายกสโมสรคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ ให้ผู้เป็นประธานการประชุมขอให้สมาชิกเสนอชื่อ คณะกรรมการสรรหา ทั้งหมด ๓ ท่านเพื่อทำการสรรหานายกสโมสร โดยการลงคะแนนลับและให้สมาชิกทุกท่านมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกสมาชิกเป็นนายกสโมสรได้ ๑ เสียง ผู้ได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่จะได้รับการประกาศเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นนายกสโมสร โดยมติประธานคณะกรรมการสรรหาถือเป็นข้อยุติไม่มีการโต้แย้ง และนายกสโมสรที่ได้รับการเลือกตั้งจะเป็นผู้คัดเลือกตำแหน่งกรรมการบริหารอย่างน้อย ๖ ท่านจากสมาชิกสโมสร นายกสโมสรผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งในการออกเสียงลงคะแนนเป็นนายกสโมสรนี้จะทำหน้าที่เป็นกรรมการบริหารในคณะกรรมการบริหารในฐานะนายกสโมสรรับเลือกสำหรับปีนับจากวันเลือกตั้ง จนถึงวันที่ ๑ เดือนกรกฎาคมจึงจะหนึ่งปีก่อนเข้ารับตำแหน่งนายกสโมสรตั้งแต่วันที่หนึ่งเดือนกรกฎาคม ถัดจากปีที่ทำหน้าที่ในคณะกรรมการบริหารในฐานะนายกสโมสรรับเลือก แต่หากการเลือกนายกสโมสรเพื่อทำหน้าที่อีก ๒ ปีถัดไป ให้ประธานคณะกรรมการสรรหาประกาศชื่อหลังวันที่ ๑ กรกฎาคมปีถัดไป เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมนูญของสโมสรโรตารี
ปรับปรุงถ้อยคำให้เข้าใจดีขึ้น และสอดคล้องกับความเป็นจริงของสโมสรโรตารีบางเขน
3.      มาตรา ๓
4.      การเลือกคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ หมวด ๒
เจ้าหน้าที่และกรรมการบริหารที่นายกสโมสรที่ได้รับเลือกตั้ง รวมทั้งและอดีตนายกสโมสรเพิ่งผ่านพ้นประกอบเป็นจะเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารโดยปริยาย หลังจากการเลือกตั้งหนึ่งสัปดาห์ให้นายกสโมสรที่ได้รับเลือกนี้ คัดคณะกรรมการบริหารรับเลือกประชุมกัน และเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งของสโมสรให้ทำหน้าที่เป็นปฏิคมเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่สโมสรและกรรมการบริหารทุกตำแหน่ง
เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่นายกสโมสรโรตารีบางเขนมีแนวทางปฏิบัติเป็นประเพณีที่นายกสโมสรคือผู้เลือกกรรมการในคณะกรรมการบริหารและกรรมการสโมสรทุกตำแหน่ง
3.      มาตรา ๓
4.      การเลือกคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่
หมวด ๓

ถ้าตำแหน่งใดในคณะกรรมการบริหารหรือเจ้าหน้าที่ว่างลง ให้คณะกรรมการบริหารที่เหลือดำเนินการแต่งตั้งเพื่อแทนตำแหน่งที่ว่าง
ไม่เปลี่ยนแปลง
3.      มาตรา ๓
4.      การเลือกคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่
หมวด ๔

ถ้าตำแหน่งใดในบรรดาเจ้าหน้าที่รับเลือก หรือกรรมการบริหารรับเลือกว่างลง ให้คณะกรรมการบริหารรับเลือกที่เหลือดำเนินการแต่งตั้งเพื่อแทนในตำแหน่งที่ว่าง
ไม่เปลี่ยนแปลง
5.      มาตรา ๔
6.      หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สโมสร
หมวด ๑
(เดิมคือ ม.๓ หมวด ๑)
นายกสโมสร นายกสโมสรมีหน้าที่เป็นประธานการประชุมของสโมสร การประชุมคณะกรรมการบริหาร และปฏิบัติหน้าที่ปกติอื่น ๆ อันเกี่ยวข้องกับตำแหน่งนายกสโมสร
ไม่เปลี่ยนแปลง
7.      มาตรา ๔
8.      หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สโมสร
หมวด ๒
(เดิมไม่มี)
นายกเพิ่งผ่านพ้น นายกเพิ่งผ่านพ้นต้องทำหน้าที่กรรมการบริหารและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่นายกสโมสรหรือคณะกรรมการบริหารกำหนดไว้
เพิ่มเติม
9.      มาตรา ๔
10.   หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สโมสร
หมวด ๓
(เดิมคือ ม.๔ หมวด ๒)
นายกสโมสรรับเลือก นายกสโมสรรับเลือกปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการบริหารในคณะกรรมการบริหารของสโมสร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่นายกสโมสรหรือคณะกรรมการบริหารกำหนดไว้
เนื้อหาเหมือนเดิม
11.   มาตรา ๔
12.   หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สโมสร
หมวด ๔
(เดิมคือ ม.๔ หมวด ๓)
อุปนายก อุปนายกมีหน้าที่เป็นประธานการประชุมสโมสร และการประชุมคณะกรรมการบริหารเมื่อนายกสโมสรไม่อยู่ และปฏิบัติหน้าที่ปกติอื่น ๆ ของตำแหน่งอุปนายก
เนื้อหาเหมือนเดิม
13.   มาตรา ๔
14.   หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สโมสร
หมวด ๕
(เดิมคือ ม.๔ หมวด ๔)
เลขานุการ เลขานุการมีหน้าที่จัดทำทะเบียนสมาชิก จัดทำคะแนนการเข้าประชุม ส่งหนังสือเชิญประชุมของสโมสร ของคณะกรรมการบริหาร และของคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ จัดทำบันทึกและเก็บรายงานการประชุมต่าง ๆ ดังกล่าว  ทำรายงานต่อโรตารีสากล รวมทั้งรายงานครึ่งปีของสมาชิก และจัดส่งค่าบำรุงสมาชิกทั้งปีและค่าบำรุงสมาชิกกลางงวดของสมาชิกที่รับเข้ามาเมื่อเริ่มต้นงวด ซึ่งต้องส่งให้เลขาธิการโรตารีสากลในวันที่ ๑ มกราคม และวันที่ ๑ กรกฎาคม ของแต่ละปี รวมทั้งรายงานการเปลี่ยนแปลงเพิ่ม / ลดสมาชิกระหว่างงวด ซึ่งต้องส่งให้เลขาธิการในวันที่ ๑ ตุลาคม และวันที่ ๑ เมษายน โรตารีสากลทราบ ส่งรายงานการเข้าประชุมสโมสรเป็นรายเดือนให้แก่ผู้ว่าการภาคภายใน ๑๕ วันหลังจากการประชุมครั้งสุดท้ายของเดือน จัดเก็บค่าสมาชิกนิตยสาร The Rotarian  จัดเก็บและส่งเงินค่าบำรุงภาคให้แก่ประธานการเงินภาคและปฏิบัติหน้าที่ปกติอื่น ๆ ของเลขานุการ
เพิ่มหน้าที่ในการเก็บเงินและส่งค่าบำรุงสมาชิกเพื่อส่งให้แก่เลขาธิการโรตารีสากล
ตัดถ้อยคำที่ไม่สอดคล้องกับข้อบังคับสโมสร (ฉบับแนะนำ)
ค่าสมาชิกนิตยสารเดอะโรแทเรียนนั้นไม่ได้มีการบังคับเรียกเก็บ เนื่องจากสมาชิกได้รับนิตยสารโรตารีประเทศไทยซึ่งรวมค่าใช้จ่ายอยู่ในค่าบำรุงภาคแล้ว
ค่าบำรุงภาคที่เลขานุการสโมสรต้องเก็บและนำส่งแก่ประธานการเงินภาคคือ ๑๐๐๐ บาทต่อสมาชิกหนึ่งคน
15.   มาตรา ๔
16.   หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สโมสร
หมวด ๖
(เดิมคือ ม.๔ หมวด ๕)
17.    
เหรัญญิก เหรัญญิกมีหน้าที่เก็บรักษาเงินทุนทั้งหมดของสโมสรและรายงานการเงินต่อสโมสรเป็นรายเดือนและโอกาสอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารต้องการ และปฏิบัติหน้าที่ปกติอื่น ๆ ของเหรัญญิก เมื่อเหรัญญิกจะพ้นจากตำแหน่ง ให้ส่งมอบเงินทุนทั้งหมด สมุดบัญชีต่าง ๆ และทรัพย์สินอื่นของสโมสรให้แก่เหรัญญิกคนใหม่ที่จะเข้ามารับหน้าที่ หรือมอบให้แก่นายกสโมสร
เนื้อหาเหมือนเดิม
18.   มาตรา ๔
19.   หน้าที่ของเจ้าหน้าที่สโมสร
หมวด ๗
(เดิมคือ ม.๔ หมวด ๖)
20.    
ปฏิคม ปฏิคมมีหน้าที่ต่าง ๆ เพื่อให้การประชุมสโมสรเป็นไปอย่างราบรื่น ป้องกันเหตุการณ์ที่อาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติภูมิของสโมสรและหน้าที่อื่นตามที่นายกสโมสรหรือคณะกรรมการบริหารได้กำหนดไว้

21.   มาตรา ๕
22.   การประชุม
23.   หมวด ๑
24.   (เดิมคือ ม.๔ หมวด ๑)
การประชุมประจำปี  สโมสรจะให้มีการประชุมประจำปีในสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคมในแต่ละปี เพื่อเลือกตั้งเจ้าหน้าที่และกรรมการบริหารนายกสโมสรสำหรับปีถัดไปหรืออีกสองปีถัดไป
เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการบริหารของสโมสรจะถูกเลือกโดยนายกสโมสร มิใช่มาจากการเลือกตั้ง
(หมายเหตุ – ธรรมนูญมาตรฐานสโมสรโรตารี มาตรา ๖ หมวด ๒ บัญญัติว่า “สโมสรจะต้องจัดการประชุมประจำปี เพื่อเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ไม่ช้ากว่า วันที่ ๓๑ ธันวาคม)
25.   มาตรา ๕
26.   การประชุม
27.   หมวด ๒
28.   (เดิมคือ ม.๔ หมวด ๒)
สโมสรนี้จะประชุมปกติในทุกวันอังคาร เวลา ๑๙.๐๐ น. หากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ หรืองดการประชุมปกติ จะต้องแจ้งให้สมาชิกทราบด้วยวิธีการที่เหมาะสม สมาชิกทุกคน นอกจากสมาชิกกิตติมศักดิ์ (หรือสมาชิกที่คณะกรรมการบริหารยกเว้นตามธรรมนูญมาตรฐานสโมสรโรตารี มาตรา ๙ หมวด ๓ (ข)) ที่มีสถานภาพดี จะต้องถือว่าเข้าประชุม หรือขาดประชุม การเข้าประชุมหมายความว่าสมาชิกนั้นต้องอยู่ในการประชุมอย่างน้อยร้อยละ ๖๐ ของเวลาการประชุมโดยสมาชิกนั้นอาจเข้าประชุมที่สโมสรนี้หรือที่สโมสรอื่นก็ได้ หรือมิฉะนั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติธรรมนูญมาตรฐานสโมสรโรตารี มาตรา หมวด ๑ และหมวด ๒
รับปรุงหมายเลขข้อมาตรา ที่ใช้อ้างอิงให้ถูกต้อง
29.   มาตรา ๕
30.   การประชุม
31.   หมวด ๓
32.   (เดิมคือ ม.๔ หมวด ๓)
การประชุมประจำปีหรือการประชุมปกติของสโมสร ต้องมีสมาชิกจำนวนหนึ่งในสามเข้าประชุม จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม
ไม่เปลี่ยนแปลง
33.   มาตรา ๕
34.   การประชุม
35.   หมวด ๔
36.   (เดิมคือ ม.๔ หมวด ๔)
คณะกรรมการบริหารจะประชุมปกติในวันใดวันหนึ่งของสัปดาห์แรกของแต่ละเดือน  นายกสโมสร หรือกรรมการบริหาร ๒ ท่านร้องขอ อาจเรียกประชุมพิเศษคณะกรรมการบริหารได้ตามที่เห็นว่าจำเป็น หรือเมื่อมีกรรมการบริหารจำนวน ๒ คนร้องขอ และจะต้องออกหนังสือเชิญประชุม พร้อมกับแจ้งวาระการประชุมที่ชัดเจน และวาระการประชุมต้องมีเรื่องฐานะทางการเงินของสโมสรทุกครั้งเพื่อเป็นข้อมูลการตัดสินใจดำเนินการ
หนังสือเชิญประชุมอาจใช้วิธีทางจดหมายอิเล็กทรอนิกหรือวิธีอื่นใดที่สามารถเข้าถึงและยืนยันการรับข้อความหรือจดหมายนั้นได้ และการจัดประชุมก็สามารถผ่านระบบออนไลน์ หรือระบบอิเล็กทรดนิกอื่นที่เหมาะสม และเอื้ออำนวยแก่การลงคะแนนเสียงได้
เพิ่มเติมวิธีการส่งจดหมายเชิญประชุม และสถานที่ประชุมที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและมีประสิทธิภาพมากกว่า
37.   มาตรา ๕
38.   การประชุม
39.   หมวด ๕
40.   (เดิมคือ ม.๔ หมวด ๕)
การประชุมคณะกรรมการบริหาร จำนวนต้องเกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการบริหาร จึงจะถือว่าครบองค์ประชุมของคณะกรรมการบริหาร
ไม่เปลี่ยนแปลง
41.   มาตรา ๖
42.   ค่าธรรมเนียมและค่าบำรุง
43.   หมวด ๑
ค่าธรรมเนียมแรกเข้าเป็นสมาชิกคือ ๑,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันบาท) ซึ่งผู้สมัครต้องชำระก่อนจึงจะมีคุณสมบัติเป็นสมาชิกได้

ไม่เปลี่ยนแปลง
44.   มาตรา ๖
45.   ค่าธรรมเนียมและค่าบำรุง
46.   หมวด ๒
ค่ำบำรุงสมาชิกคือ ๖,๐๐๐ บาท (หกพันบาท) ต่อปี โดยแบ่งชำระเป็นสองงวด งวดแรก ๓,๐๐๐ บาท ชำระภายในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม และงวดที่สอง ๓.๐๐๐ บาท ชำระภายในวันที่ ๓๑ มกราคม โดยในจำนวนนี้เป็นค่าบอกรับนิตยสารโรตารีประเทศไทย และทั้งนี้ให้เข้าใจว่าในจำนวนเงินค่าบำรุงดังกล่าวจะเป็นค่าบำรุงภาค ๓๓๕๐ เป็นจำนวน ๑,๐๐๐ บาทต่อปี ค่าบำรุงโรตารีสากล ๕๑ เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และ ค่าประชุมสภานิติบัญญัติ ๑ เหรียญ
ยกเลิกการระบุตัวเลขค่าบำรุง ค่าร่วมประชุมสภานิติบัญญัติของโรตารีสากล และค่าบำรุงภาค ซึ่งมักมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี
47.   มาตรา ๗
48.   วิธีการออกเสียง
49.   (เดิมคือ ม.๖)
ในการดำเนินธุรกรรมของสโมสรให้ใช้วิธีออกเสียงด้วยวาจา นอกจากการออกเสียงเพื่อเลือกตั้งนายกสโมสรให้ใช้วิธีบัตรออกเสียงลงคะแนน การออกเสียงในคณะกรรมการบริหารให้เป็นไปตามลักษณะการประชุม
การประชุมด้วยเทคโนโลยีออนไลน์ขอให้ใช้วิธีที่เหมาะสมได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น